วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สมาชิกToyota group

เป็นการรวมตัวกันอย่างไม่น่าเชื่อ.... จริงๆ ...
เพราะ BLOG นี้ เกิดขึ้นมาได้ด้วย...แรงบันดาลใจ?

จากวิชา AD442 International Advertising
คณะนิเทศศาสตร์ ภาควิชาโฆษณา
Bangkok University

สมาชิกกลุ่ม"Toyota" ผู้จัดทำ...Section 4271

น.ส. วณิชชา บำรุงชู ID:1490337928 No. 2

(AD 410 คู่ขนาน)


นาย ทัศนัย บุญวังแร่ ID : 1470330125 No. 8

น.ส.พิมพ์นิภา พูลอ่อน ID:1480305638 No.14


น.ส.ชนกพร สุคนธ์ ID:1480320660 No.40

น.ส. พรรณวร บุญครอง ID:1480322880 No.50



นาย นัฏฏสิทธิ์ ศรีอภิรักษา ID:1480323524 No.52


น.ส. วิลาสินี สารพร ID:1480331972 No.70


น.ส. สิริพร ศรีอุ่นเรือน ID:1480332442 No. 76


น.ส. ณัชชา บริรักษ์สารบรรณ ID:1480332541 No.78


นาย ชิษณุพงศ์ จักรวิทย์ธำรง ID : 1480333663 No. 85

รางวัลที่ได้รับ


กุญแจแห่งความสำเร็จของ KAIZEN

KAI คือ Continuous
ZEN คือ Improvement


ดังนั้น KAIZEN เท่ากับ Continuous Improvement คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กระบวนการ Plan-Do-Check-Act คือ การดูปัญหา วางแผนหาวิธีแก้ปัญหา ทดลอง แล้วตรวจสอบว่าแก้ปัญหาได้หรือไม่ ถ้าเป็นวิธีที่ดีก็นำไปใช้

รถยนต์ที่ผลิตออกมาจะมีการทำ Kaizen กันทุกวัน คือปรับปรุงไปเรื่อย ๆ รายละเอียดชิ้นส่วนจะเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ภายหลังจากมีการทดลอง ทดสอบแล้ว พบว่าอะไรที่ทำให้ดีขึ้น ก็จะปรับปรุง

กุญแจแห่งความสำเร็จของ Kaizen จะประกอบด้วย

- หลัก 5 ส ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย ถือเป็นพื้นฐานของ Kaizen

- หลัก 5 Why คือ การถามคำถาม 5 ครั้ง จนกว่าจะเข้าใจและสามารถตอบคำถามได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง นั่นคือ ถ้าเราถามว่า “ทำไม” ครบ 5 ครั้ง จะรู้ว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร

- หลัก Visualization คือ ทุกอย่างต้องมองเห็น เช่น การมีสัญญาณแสดงความก้าวหน้าของการผลิต หรือการทำงานในแต่ละวัน เพื่อช่วยเตือนสติและควบคุมการทำงานให้เสร็จภายในกำหนด

การทำ Kaizen เกิดขึ้นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราอยู่แล้ว เช่น การตัดสินใจเลือกเส้นทางในการเดินทางไปทำงาน จะมีการลองผิดลองถูกและปรับเปลี่ยนเส้นทางไปเรื่อย ๆ จนพบเส้นทางที่ดีที่สุด ใช้เวลาน้อยที่สุด และใช้เส้นทางนั้นตลอดไปบทบาทของผู้บริหารต่อ KAIZEN

ในการนำหลักการ Kaizen มาใช้ในองค์กรให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้บริหารจะต้องมีบทบาท ดังนี้ 1. เป็นผู้นำและริเริ่มการเปลี่ยนแปลงด้วย Kaizen 2. เป็นประธานในการนำเสนอผลงานความคิดของพนักงานในองค์กร โดยต้องมีเวทีให้นำเสนอผลงาน เช่น การจัดประกวดความคิด (Idea Contest) 3. นำเสนอรางวัลและให้คำรับรอง เพื่อให้เกิดการยอมรับ (Recognition) 4. มีการติดตามการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอโดยใช้หลัก Visualization Board เช่น Visual Board ต่าง ๆ

ข้อควรคำนึงถึงในการนำ KAIZEN มาใช้ในองค์กร

1. Kaizen ถือเป็นวัฒนธรรมองค์กรอย่างหนึ่ง จะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง

2. Kaizen เป็นสิ่งที่เราทุกคนทำอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว จึงสามารถนำสิ่งที่เคยปฏิบัติมาดำเนินการให้จริงจังและมีหลักการมากขึ้น

3. Kaizen จะต้องทำให้การทำงานง่ายขึ้นและลดต้นทุน แต่ถ้าทำแล้ว ยิ่งก่อความยุ่งยาก จะไม่ถือว่าเป็น Kaizen

TOYOTA กับความประสบความสำเร็จ

ปัจจัยที่ทำให้ Brand ของ TOYOTA ประสบความสำเร็จ

หลักสำคัญของ TOYOTA WAY
มีหัวใจสำคัญ 5 ประการ ที่ถือเป็น DNA ของพนักงาน TOYOTA ทุกคน ได้แก่


1. ความท้าทาย (Challenge)
2. ไคเซ็น (Kaizen)
3. เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu)
4. การยอมรับนับถือ (Respect)
5. การทำงานเป็นทีม (Teamwork)



ความท้าทาย (Challenge)
คือ เราจะสร้างวิสัยทัศน์ระยะยาว และบรรลุความท้าทายด้วยความกล้าหาญ และสร้างความฝันของเราให้เป็นจริง ประกอบด้วย

- High Quality คือ การเสริมสร้างคุณค่าตลอดกระบวนการผลิต การส่งมอบสินค้าและการบริการ
- Drive for progress for improvement , self reliance คือ มีจิตวิญญาณแห่งความท้าทาย
- Based on fact & possibility คือ มีวิสัยทัศน์ที่มองการณ์ไกลและวางแผนระยะยาว
- Risk , Priority , Optimization คือ การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ นั่นคือ การมีความท้าทายจะต้องเป็นความท้าทายที่เป็นไปได้ โดยมีความสมดุลระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับความเป็นไปได้


ความท้าทายของ TOYOTA คือ การพยายามผลิตรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้มีคุณภาพ มากกว่ารถยนต์ยี่ห้อ Benz ซึ่งเป็นรถยนต์อันดับหนึ่งของโลก และ TOYOTA ก็สามารถทำได้โดยการผลิตรถ Lexus ที่มีปัญหาในตัวรถ 1 คันเพียง 4 จุด เปรียบเทียบแล้วจะมีคุณภาพดีกว่ารถ Benz เพราะโดยปกติรถ Benz 1 คันจะมีปัญหาถึง 6 จุด จึงถือว่ารถ Lexus เป็นรถที่คุณภาพดีที่สุด ประกอบอย่างดีที่สุด และเป็นรถที่ชาวสหรัฐอเมริกาพึงพอใจสูงสุด


ไคเซ็น (Kaizen)
คือ การปรับปรุงการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องและผลักดันนวัตกรรมใหม่ และวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ประกอบด้วย

- effort improvement คือ การมีจิตสำนึกในการไคเซ็น และมีความคิดในเชิงนวัตกรรม
- Cost reduction , eliminate MURI-MURA-MUDA, JIT (Just in Time), CS (Customer Service) in next process, Jidoka, PPS (Practical Problem Solving) คือ การสร้างระบบงานและโครงสร้างที่เกื้อกูลกัน มีการลดต้นทุนและการสูญเสียต่าง ๆ
- Share idea, learning from mistake, standardized , yokoten (ถ่ายโอนความรู้) คือ การส่งเสริมให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้

Kaizen ที่จะประสบความสำเร็จต้องมีหลักพื้นฐานคือ การมีจิตสำนึกมีความคิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะทำให้ดีขึ้น จะต้องก่อให้เกิดการลดต้นทุน ลดการสูญเสียต่าง ๆ มีระบบ Just in Time ทำให้พอดี และต้องสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทั้งที่เป็นลูกค้าประเภท end-user หมายถึงประชาชนหรือผู้รับบริการภายนอก และลูกค้าในกระบวนการคือผู้ที่รับงานต่อจากเรา

Kaizen ไม่ใช่การเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด แต่เป็นการปรับปรุง เพราะ Kaizen ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกอย่างใหม่หมด เพียงแค่ปรับปรุงบางจุดเท่านั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานง่ายขึ้นและผู้รับบริการสะดวกขึ้น

ตัวอย่างการทำ Kaizen ของ TOYOTA เช่น การปรับปรุงการขันน็อตล้อรถยนต์ โดยการทำให้มีสีติดตรงเครื่องมือขันน็อต หากพนักงานขันน็อตแน่นพอ จะทำให้สีนั้นติดที่หัวน็อต เป็นการยืนยันว่าขันน็อต ให้ล้อแน่นแล้ว หรือร้านตัดผมบางแห่งในญี่ปุ่น จะมีวิธีทำงานคล้ายกับ TPS คือ มีขั้นตอนการผลิต ทำเสมือน line การผลิต เพื่อไม่ให้ช่างต้องเคลื่อนไหวมาก ลดการสูญเสียเวลาในการทำงาน และยังเพิ่มความชำนาญเฉพาะด้าน โดยผู้รับบริการจะเคลื่อนที่แทน ส่วนกรณีของภาคราชการไทยที่นำ Kaizen มาใช้ เช่น การทำ Passport ของกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับกรมการปกครอง ทำให้ผู้ทำ Passport ไม่ต้องกรอกข้อมูลมาก และจะอยู่ในระบบการทำ Passport ตลอดทุกขั้นตอนไม่เกิน 20 นาที

การเริ่มต้นทำ Kaizen ที่ TOYOTA จะเริ่มด้วยการทำ Idea Contest เพื่อให้พนักงานนำเสนอ ความคิดใหม่ ๆ ในการปรับปรุงการทำงาน มีการเสนอความคิดกันมากกว่า 1 พันความคิดต่อเดือน และมีรางวัลให้ความคิดดีเด่น แล้วจะมีการเผยแพร่ความคิดนั้นไปใช้ในส่วนต่าง ๆ ขององค์กร


เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu)
คือ การไปยังต้นกำเนิดเพื่อค้นหาความจริง ทำให้สามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง สร้างความเป็นเอกฉันท์ และบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย

- Grashp problem , analyze root causes , confirm of facts , early study คือ การหาข้อเท็จจริง วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
- Sharing goals & quantity , less conflict , hoshin kanri คือ การสร้างฉันทามติที่มีประสิทธิภาพ
- Commit to action , decision then to action , PDCA approach for problem solvingคือ การมีพันธะสัญญาสู่ความสำเร็จ
Genchi Genbutsu มีหลักพื้นฐานคือ การไปให้ถึงที่จริงและเห็นของจริง คือ Go to see หรือ Go and see เพื่อให้รู้ต้นเหตุของปัญหาจริง ๆ เช่น ผู้บริหาร TOYOTA จะต้องเดินทางไปหา Dealer ใน ต่างจังหวัดทุกเดือน เพื่อให้เห็นปัญหาข้อเท็จจริง และจะได้พูดคุยกับต้นตอปัญหา เพื่อสร้างฉันทามติ การรับรองรับรู้ร่วมกันได้ นอกจากนี้ การเดินทางไปพบ Dealer ยังเปิดโอกาสให้ผู้บริหารของ TOYOTA สามารถให้ความรู้แก่ Dealer ได้ด้วยการยอมรับนับถือ (Respect)


การยอมรับนับถือ (Respect)
คือ การเคารพและให้การยอมรับผู้อื่น รวมทั้งพยายามทุกวิถีทางเพื่อ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน แสดงความรับผิดชอบ และปฏิบัติอย่างดีที่สุดเพื่อสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ประกอบด้วย

- Security for the company คือ การเคารพผู้ถือหุ้น , ลูกค้า , พนักงาน , คู่ค้าทางธุรกิจ , สังคม
- Mutual Trust & Responsibility ทั้งในกรณีของ leader และ team member คือ การไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการมีความรับผิดชอบซึ่งกันและกันในระหว่างตัวผู้นำและสมาชิกในทีม
- Sincere communication , openness & accept of difference , fairness , willingness to listen , self confidence , accountability คือ การสื่อสารอย่างจริงใจต่อกัน


การยอมรับนับถือมีหลักพื้นฐาน คือ Respect to people หมายถึง การยอมรับว่าทุกคนเท่าเทียมกัน โดย TOYOTA พยายามรณรงค์ให้มีการไว้วางใจ นับถือ ยอมรับผู้อื่น มีความรับผิดชอบซึ่งกันและกันโดยเฉพาะในแง่ของการนำเสนอความคิด จะมีการเปิดกว้างให้โอกาสพนักงานทุกระดับ แม้สุดท้ายการตัดสินใจจะยังเป็นอำนาจของผู้บริหาร
อย่างไรก็ตาม หลักการข้อนี้อาจใช้ได้ยากในสังคมไทยที่ยังยึดถือระบบอาวุโส


การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
คือ การกระตุ้นบุคลากรและการเจริญเติบโตในสายอาชีพ แบ่งปันโอกาสในการพัฒนา และเพิ่มขีดความสามารถสูงสุดสำหรับรายบุคคลและทีม ประกอบด้วย

- Team member development , opportunity staff , develop through delegation คือ การมีพันธะสัญญาในเรื่องการให้การศึกษาและการพัฒนา
- Respect for humanity & creativity , mutual contribution on individual creativity and teamwork คือ การเคารพในความเป็นปัจเจกชน การตระหนักถึงการรวมพลังภายในทีมเพื่อให้ทีม แข็งแกร่ง


การบริหารงานภายใน TOYOTA จะมีการโยกย้ายทุกปี ปีละ 25 % ในทุกหน่วยงาน ฤดูการ โยกย้ายจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งมีผลดีต่อการทำงานคือ จะมีคนจากส่วนงานอื่นหมุนเวียนเข้ามาทำงานตลอดเวลา เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ ความชำนาญระหว่างกัน และคนที่โยกย้ายไปทำงานหลายส่วนงานจะสามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้น และที่สำคัญคือจะสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ง่าย ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีของการสร้างทีมงาน ทั้งนี้ แม้จะมุ่งเน้นความสำเร็จของทีมเป็นหลัก แต่ขณะเดียวกันก็จะสนใจและให้ความสำคัญกับปัจเจกบุคคลในทีมงานด้วย มีการจัดกิจกรรมสนับสนุนการทำงานเป็นทีมและยังช่วยให้ปัจเจกบุคคลรู้จักซึ่งกันและกันด้วย


การทำงานใน TOYOTA เมื่อเกิดปัญหา จะไม่ถามว่า “ใครเป็นคนทำ” แต่จะถามว่า “เพราะอะไร” เนื่องจากเน้นการทำงานเป็นทีม จะไม่โทษรายบุคคล

***

ผลการดำเนินงานของโตโยต้า










รู้จักกับทีมงานบริหาร







จุดสัมผัสแบรนด์ของผู้บริโภค

ผู้อ่านท่านใดสนใจเข้าชมโฆษณาของ TOYOTA จากทั่วทุกมุมโลก สามารถเข้าชมได้ที่

http://www.youtube.com/results?search_query=ad+toyota&search_type=&aq=f



จุดที่สามารถครองใจลูกค้าได้

TOYOTA ใช้วิธีเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าโดยวิธี

การแบ่งวิเคราะห์ผู้บริโภค ออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคและกระบวนการตัดสินใจ
2. การวิเคราะห์ ด้วยทฤษฎี 6 W’s และ 1H
3. การแสวงหาคำตอบจากผลการวิจัยตลาด
4. Time of adoption of innovation
5. บทสรุปการวิเคราะห์ผู้บริโภค Consumer Profile

เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคและกระบวนการตัดสินใจ
ลูกค้าที่ซื้อรถกระบะ TOYOTA VIGO เป็น ลูกค้าที่มีความต้องการด้าน
สมรรถนะและประสิทธิภาพ (ช่วงล่างและเครื่องยนต์) พร้อมทั้งความประหยัด
ซึ่ง VIGO สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ในเรื่องของ การที่
VIGO มีขนาดของเครื่องยนต์ที่มีแรงม้ามากถึง 163 แรงม้า ที่ 3,400 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 343 นิวตัน-เมตร ที่ 1,400-3,200 รอบ/นาที และเป็นเครื่องยนต์
คอมมอลเรลที่ประหยัดน้ำมันสุดคุ้ม และโครงสร้าง มาตรฐานรถกระบะ GOA
ของโตโยต้า ซึ่งสามารถสร้างความปลอดภัย ด้วยระบบช่วงล่าง และระบบเบรค
ABS ปลอดภัยต่อการใช้งาน
เจ้าของธุรกิจหรือกลุ่มธุรกิจค้าขาย ต้องการความประหยัดคุ้มค่า และมีความทนทานคงสามารถรองรับต่อการใช้งานที่บรรทุกได้ ทำให้สามารถใช้งานได้นานกับราคาที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง จึงถือเป็นการลดต้นทุนได้


กระบวนการตัดสินใจซื้อ > ตระหนักถึงปัญหา > หาข้อมูล> ประเมินทางเลือก > ตัดสินใจซื้อ > ประเมินหลังการซื้อ



การวิเคราะห์ ด้วยทฤษฎี 6 W’s และ 1H





3. การแสวงหาคำตอบจากผลการวิจัยตลาด
เครื่องมือในการวิจัยที่นำมาใช้ คือ
1. การวิเคราะห์ข้อมูล [Database]
2. การวิจัย [Research]
2.1 การวิจัยเชิงคุณภาพ [Qualitative Research]
2.2 การวิจัยเชิงปริมาณ [Quantitative Research]


4. Time of adoption of innovation
การแพร่กระจายของนวัตกรรม(Diffusion of Innovations)


Time of adoption of innovationแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

• กลุ่มนักริเริ่ม [ Innovators ]
• กลุ่มนำสมัย [ Early adoptors ]
• กลุ่มทันสมัย [ Early Majority ]
• กลุ่มตามสมัย [ Late Adoptors ]
• กลุ่มล้าสมัย [ Laggards ]

เปรียบเทียบยอดขาย

ยอดขาย ปี2550(ม.ค.) ยอดขาย ปี2551(ม.ค.)
• TOYOTA 10988 11393
• ISUZU 9408 10393
• MAZDA 1062 682
• MITSUBISHI 1730 2077
• NISSAN 888 2232
• CHEVROLET 939 1002
• FORD 640 631


(รถยนต์เพื่อการพาณิยช์ ที่มา www.toyota.co.th )

TOYOTA WAY

บริษัท TOYOTA ในประเทศญี่ปุ่นก่อตั้งมาประมาณ 60-70 ปีแล้ว โดยตระกูลโตโยดะ แปลว่าทุ่งข้าวขนาดใหญ่ ตระกูลนี้มีอาชีพทำนา แต่มีบุตรชายคนหนึ่ง ไม่อยากเป็นชาวนา เมื่อเห็นมารดาทอผ้า จึงช่วยคิดประดิษฐ์เครื่องปั่นด้ายที่ใช้กลไกพลังน้ำหมุน และคิดประดิษฐ์เครื่องทอผ้าขึ้นมา และมีการจดลิขสิทธิ์ด้วย จากนั้น จึงพัฒนามาผลิตรถยนต์และก่อตั้งเป็นบริษัท TOYOTA ขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน บริษัท TOYOTA จึงถือเป็นบริษัทที่ก่อกำเนิดขึ้นมาจากการคิดค้นและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีการบูรณาการกันระหว่างการคิดสร้างสรรค์ (Creative) และ Kaizen คือ คิดปรับปรุงอยู่เรื่อย ๆ และได้มีการกำหนด TOYOTA WAY หรือวิถีแห่ง TOYOTA ขึ้น เมื่อปี 2001 หมายถึง

o ปรัชญาการทำงานร่วมกันขององค์กร
o พฤติกรรมนิยมที่ปฏิบัติร่วมกันในองค์กร
o วัฒนธรรมองค์กร

การกำหนด TOYOTA WAY นี้มีที่มาจากการที่ผู้บริหารบริษัทเกรงว่าความเป็น TOYOTA ที่มีรากฐานมาจากการคิดค้นและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจะหายไป จึงจัดทำคัมภีร์ในการทำงานขึ้นมา เพื่อสร้างพฤติกรรมนิยมในองค์กร ให้เป็นปรัชญาการทำงานของผู้บริหารและพนักงานทุกคน


โตโยต้า ยาริส-Yaris Sportivo

ข้อมูลเบื้องต้น
ก่อตั้ง - 5 ตุลาคม 2505
ทุนจดทะเบียน - 7,520 ล้านบาท
กำลังการผลิต โรงงานโตโยต้า สำโรง 250,000 คัน/ปี
โรงงานโตโยต้า เกตเวย์ 200,000 คัน/ปี
โรงงานโตโยต้า บ้านโพธิ์ 100,000 คัน/ปี
บุคลากร 13,500 คน
ผู้แทนจำหน่าย 119 ราย
โชว์รูม 292 แห่ง


ปัจจุบันนี้ โตโยต้า มอเตอร์ ไทยแลนด์ ผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 1 ของไทย ภายใต้แนวคิดในการบริการที่“พร้อมจะมอบความพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า” โดยประกันการสร้างคุณภาพในทุกกระบวนการ “ผสานกับความมุ่งมั่นของเหล่าพนักงานโตโยต้า” คือเบื้องหลังความสำเร็จของโตโยต้าที่ผลักดันให้บริษัทครอบครองความเป็นหนึ่ง ของผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิสัยทัศน์ที่เป็นบริษัทแกนนำของโตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค และเครือข่ายโตโยต้าทั่วโลก และเป็นบริษัทรถยนต์ที่ได้รับการยอมรับและยกย่องที่สุด ในประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2551

TOYOTA'S LOGO


ความหมาย Logo

สัญลักษณ์ของโตโยต้า เป็นรูป ELLIPSE หรือวงรี 2 วง วางซ้อนกันเป็นรูปตัว T และล้อมรอบด้วยรูปวงรีขนาดใหญ่อีก 1 วง เป็นสัญลักษณ์ที่โตโยต้าเพิ่งออกแบบใหม่ขึ้น และเพิ่งนำมาใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปลายปี 2532 นี่เอง รถโตโยต้าแบบแรกที่ติดสัญลักษณ์ตัวนี้คือ รถโตโยต้าเซลซิเออร์ (TOYOTA CELSIOR) ซึ่งเพิ่งออกตลาดในญี่ปุ่นเมื่อปลายปีนั้นเช่นกัน โตโยต้าอธิบายความหมายของตัวนี้ว่า รูปวงรีเป็นรูปทรงทางเรขาคณิตซึ่งมีจุดศูนย์กลางหรือจุดโฟกัส 2 จุด โตโยต้านำรูปนี้มาใช้ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของการผนึกหัวใจ 2 ดวง เข้าด้วยกัน คือ รูปหัวใจของผู้ใช้รถ กับหัวใจของตัวสินค้า ส่วนพื้นที่ว่างซึ่งบรรจุอยู่ภายในวงรีวงใหญ่ หมายถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งสามารถขยายตัวออกไปโดยไม่มีขอบเขต รถยนต์โตโยต้า เป็นผลผลิตของโตโยต้า มอเตอร์ คอร์พอเรชั่น (TOYOTA MOTOR CORPORATION) ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตรยนต์รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นและใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากเจเนอรัล มอเตอร์ส คอร์พอเรชัน (GENERAL MOTORNCORPATION) และฟอร์มอเตอร์คัมปะนี (FORD MOTOR COMPANY) แห่งสหรัฐอเมริกา